วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักการใช้ยา




1. ใช้ยาให้ถูกกับโรค การใช้ยาให้ถูกกับโรค คือ ต้องพิจารณาดูว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วจึงใช้ยาที่มีสรรพคุณ ในการรักษาโรคนั้นได้ เช่น เมื่อเป็นไข้ก็ควรใช้ยาลดไข้ เมื่อมีอาการปวดท้อง ก็ต้องใช้ยาแก้ปวดท้อง เป็นต้น
2. ใช้ยาให้ถูกขนาด เมื่อแพทย์สั่งให้ใช้ยาในขนาดต่าง ๆ เราต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยาเกินขนาดที่แพทย์สั่ง ถ้าใช้ยา มากเกินขนาดที่แพทย์สั่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ถ้าใช้ยาน้อยเกินไปจะไม่มีผลในการรักษา บางครั้งเรา อาจรู้สึกลำบากใจ เพราะไม่เข้าใจขนาดยาที่แพทย์สั่งและจะหาของใช้ในบ้าน มาตวงยาได้อย่างไรบ้าง ขอเสนอแนะ ให้ถือเกณฑ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ขนาดยา 1 ซี.ซี. หรือมิลลิลิตร เท่ากับ 15-20 หยด แล้วแต่หยดเล็ก หยดใหญ่ ขนาดยา 1 ช้อนชา เท่ากับ 4-5 ซี.ซี.(ช้อนชาที่ใช้ตามบ้านในเมืองไทย=3 ซี.ซี.) ขนาดยา1ช้อนโต๊ะเท่ากับ 15 ซี.ซี. หรือประมาณ 3 ช้อนชา(ช้อนโต๊ะไทยมีความจุประมาณ 10 ซี.ซี.) ขนาดยา 1 ออนซ์ เท่ากับ 30 ซี.ซี. หรือ 2 ช้อนโต๊ะมาตรฐาน( 3 ช้อนโต๊ะไทย) ขนาดยา 1 ลิตร เท่ากับ 1,000 ซี.ซี. หรือประมาณ 1 ขวดแม่โขงชนิดกลม เมื่อเรารับประทานยาหรือฉีดยาเข้าไปในร่างกาย ตัวยาจะถูกดูดซึมเข้าไปในเลือด และกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำลายเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคส่วนใหญ่จะอยู่ในเลือด เราจึงต้องรักษาความเข้มข้นของยาให้ได้ขนาด พอเหมาะที่จะทำลายเชื้อโรคได้ เพราะว่าเมื่อตัวยาถูกส่ง ไปยังตับ ตับถือว่ายาเป็นสิ่งแปลกปลอมร่างกายไม่ต้องการ ตับจะขับตัวยาออกจากร่างกายทำให้ ความเข้มข้นของยาลดลงเรื่อย ๆดังนั้นเราจึงต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น 1เม็ดทุก 4 ชั่วโมง เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของยาไว้ 3. ใช้ยาให้ถูกวิธี
ก่อนใช้ยาทุกชนิดต้องอ่านฉลาก ดูวิธีการใช้ยาให้ละเอียดชัดเจน เพราะยามีหลายรูปแบบ มีวิธีการใช้แตกต่างกันไป เช่นยาบางชนิดใช้รับประทาน บางชนิดใช้ฉีด บางชนิดใช้ทาภายนอก บางชนิดใช้หยอดตา บางชนิดใช้เหน็บทางทวารหนัก บางชนิดกำหนดให้เขย่าขวดก่อนรับประทาน ยาบางชนิด เมื่อรับประทานแล้วต้องดื่ม น้ำตามมาก ๆ เป็นต้น 4. ใช้ยาให้ถูกเวลา การใช้ยานั้นต้องทราบว่ายานั้นควรรับประทานเมื่อใด และออกฤทธิ์อย่างไร เพราะถ้ารับประทานยาผิดเวลาที่กำหนดไป ยาอาจหมดฤทธิ์หรือไม่มีผลในการรักษา เช่น ยาก่อนอาหาร ส่วนใหญ่เป็นยาที่มีคุณสมบัติถูกดูดซึมได้ดีในขณะท้องว่าง จึงต้องรับประทาน ก่อนอาหารประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงชั่วโมง ถ้านำยาก่อนอาหารมา รับประทานหลังอาหารจะไม่ได้ผลในการรักษา เพราะตัวยาจะถูกดูดซึม เข้าสู่กระแสโลหิตได้ยาก ยาที่ควรรับประทานก่อนอาหาร ได้แก่ ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยาแอมพิซิลลิน เพนิซิลลิน เป็นต้น ยาหลังอาหาร ส่วนมากเป็นยาที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ถ้านำมารับประทานก่อนอาหารจะไป เพิ่มกรดในกระเพาะอา หาร ทำให้กัดกระเพาะได้ จึงต้องนำมารับ ประทานหลังอาหาร โดยรับประทาน หลังอาหารประมาณ 15-30 นาที ตัวอย่างยาที่ รับประทานหลังอาหารได้แก่ ยาแก้ปวด ยาลดไข้ชนิดต่างๆ เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ยาก่อนนอน ส่วนมากเป็นยาที่มีคุณสมบัติกดประสาทหรือกล่อมประสาทเมื่อรับประทานแล้วจะทำให้ง่วงนอน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงถ้าขับรถ หรือทำงานใกล้เครื่องจักรเครื่องยนต์ อาจเกิดอันตรายได้ จึงให้รับประทาน ซึ่งยาจะไปออกฤทธิ์ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังนอนหลับ เช่น ยานอนหลับ เป็นต้น
5. ใช้ยาให้ถูกคน ยาที่ผลิตขึ้นมาใช้นั้นมีจุดมุ่งหมายแล้วว่าจะนำไปใช้กับคนประเภทใด ถ้านำไปใช้ผิดคนอาจเกิดอันตรายขึ้นได้หรือไม่ได้ผล ในการรักษาเช่น ยาที่ผลิตขึ้นมาใช้ กับผู้ใหญ่ถ้านำไปใช้กับเด็กอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ หรือยาที่ผลิตใช้สำหรับเด็กถ้านำมาใช้ กับผู้ใหญ่ก็อาจไม่ได้ผลในการรักษา
6. ใช้ยาให้ครบระยะเวลา เมื่อไปหาแพทย์แล้วแพทย์สั่งยามาให้รับประทานจำนวนมากพอสมควร เราต้องรับประทานยา ที่แพทย์สั่งให้หมด แม้ว่าเมื่อ รับประทานยาไปส่วนหนึ่ง แล้วจะมีอาการ ดีขึ้นหรือหายจากโรคแล้วก็ตาม เพราะว่าอาการดีขึ้นนั้นเชื้อโรคอาจจะยังไม่หมดไปจากร่างกาย ถ้าหยุดยาเชื้อโรคอาจจะฟักตัวก่อให้
เกิดโรคได้อีกและเมื่อเราใช้ยา ชนิดเดิมอาจรักษาโรคไม่หาย เพราะเชื้อโรคดื้อยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ชนิดต่าง ๆ ต้องรับประทานให้ครบจำนวนที่แพทย์สั่ง


ที่มา www.thaigoodview.com/library/contest2551/.../12/veetee.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น